English  Thai

สมาคมแพทย์แผนไทย ศูนย์สุขุมวิท โปรโมชั่นพิเศษ ลงทะเบียนเรียนนวดไทยมืออาชีพ สามารถเลือกเรียนฟรี อีกหนึ่งหลักสูตรฟรี 081-375-2200

หลักสูตรสปามืออาชีพ โปรโมชั่นพิเศษ
1.เรียน 1 คน ฟรี 1 คน
2.แถมฟรีหลักสูตร บริหารจัดการสปา ฟรี

แพ็คแก็ตสปาทุกครอสลดสูงสุดจนถึง 69 % ด่วนวันนี้จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2555


สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ

อโรมาเทอราปิ-เพื่อความงาม


น้ำมันหอมระเหย


ลูกประคบสมุนไพร


 สถิติวันนี้ 19 คน
 สถิติเมื่อวาน 26 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
746 คน
3949 คน
413963 คน
เริ่มเมื่อ 2012-03-23

 
 
 
 
 
        
เราสรรหาสิ่งดี ๆ เพื่อคุณ OK-SPA                                                                                                                                                                                                                                         

ข้อควรระวังและอันตรายจากการใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)

การนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่แตกต่างจากการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ต้องมีการใช้อย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เช่นนั้นจะเกิดโทษต่อผู้ใช้ น้ำมันหอมระเหยบางชนิดอาจจะมีผลดีต่อบางคน แต่อาจจะให้ผลร้ายแรงในอีกคนหนึ่ง จึงต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งก่อนใช้ “น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดโรค”


ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)


1. ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) นั้นไม่มีพิษ ไม่ก่อให้เกิดการไวต่อแสง หรือระคายเคืองต่อผิวหนัง (น้ำมันหอมระเหยโหระพา น้ำมันหอมระเหยอบเชย น้ำมันหอมระเหยกานพลู น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่) หรือทำให้เกิดการแพ้ง่าย (น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม น้ำมันหอมระเหยกระเทียม น้ำมันหอมระเหยขิง น้ำมันหอมระเหยมะลิ น้ำมันหอมระเหยมะนาว น้ำมันหอมระเหยตะไคร้ น้ำมันหอมระเหยขมิ้น)
2. ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) ควรทดสอบว่าแพ้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) ชนิดนั้นหรือไม่  เพราะแต่ละบุคคลมีการตอบสนองต่อน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) แตกต่างกัน
3. ใช้ในน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) ปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้  และดูว่าน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) นั้นมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือไม่
4. ผู้ป่วย Homeopathic ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยพริกไทยดำ น้ำมันหอมระเหยการบูร น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส และน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่
5. ทารกและเด็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามขนาดที่ปรับเข้ากับอายุของทารกและเด็ก

 


ข้อห้ามในการใช้น้ำมันหอมระเหย


1. มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคลมชักหรือลมบ้าหมู เพราะน้ำมันหอมระเหยบางกลิ่นจะกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบ เช่น กลิ่นโรสแมรี่ เป็นต้น
2. หญิงตั้งครรภ์ เพราะกลิ่นบางกลิ่นจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งส่งผลให้มนลูกเกิดการหดตัว อาจส่งผลให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้ เช่น กลิ่นโรสแมรี่ เป็นต้น
3. ความดันโลหิตสูง เพราะกลิ่นที่มีรสร้อนบางกลิ่น เช่น Hyssop, Rosemary, sage และ Thyme มีผลกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
4. เพิ่งฝังเข็มมาใหม่ๆ ฤทธิ์จากน้ำมันหอมระเหยอาจมีผลต่อต้านการทำงานของระบบภายในที่เกิดจากการรักษาโดยการฝั่งเข็มได้
ในกรณีของผู้เริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ ไม่ควรเลือกผสมน้ำมันหอมระเหยมากเกิน 4 ชนิด และไม่ผสมน้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณตรงกันข้าม เช่น น้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณกระตุ้นกับน้ำมันหอมระเหยที่มีผลระงับ

 

 
พร้อมกันนี้ การใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีความเข้มข้น ก็จะต้องมีการนำน้ำมันกระสายหรือตัวพา (Carrier Oil) มาผสมเพื่อให้เกิดการเจือจางก่อนใช้ เพราะจะได้ไม่เกิดอันตรายเวลาใช้น้ำมันหอมระเหย
เรียบเรียงบทความ "ข้อควรระวังและอันตรายจากการใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" โดยกองบรรณาธิการ www.ok-spa.com
 
 
 
Copyright (c) 2011 by OK-Spa